วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นำเสนอวิดีโอ (การเล่นสื่อคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล)

        เด็กอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
        ก่อนที่จะให้เด็กเล่นสื่อ ให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลมแล้วถามเด็กว่าฝาขวดน้ำมีสีอะไรบ้าง
จากนั้นอธิบายวิธีเล่นให้เด็กฟัง และใครที่จะออกมาเล่นต้องยกมือก่อนและสลับให้เพื่อนคนต่อไปออกมาเรื่อยๆ 
       
        เด็กมีสับสนระหว่างส้มกับเหลืองจึงบอกให้เด็กๆดูที่รูปเรขาคณิตเป็นหลัก ถ้ามีรูปเหมือนกันก็สามารถหมุนใส่กันได้



      








กาารเรียนกาารสอนครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 2 พฤษภาคม 2561


ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์ให้มานำวิดีโอที่นำสื่อคณิตศาสตร์ไปเล่นกับเด็กอนุบาลมานำเสนอให้เพื่อนๆดู 
ว่าสื่อนั้นเหมาะกับเด็กมากน้อยแค่ไหน และเด็กสามารถเล่นสื่อคณิตศาสตร์ของเราได้ไหม 
และให้ส่งงานกิจกรรมที่ผู้ปกครองควรจัดให้เด็กขณะอยู่บ้านเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และส่งสรุปความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับวิชานี้และสิ่งที่อยากให้เพิ่มเติมในวิชานี้ค่ะ
            ก่อนนำเสนอวิดีโออาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนองานเดี่ยวเกี่ยวกับวิจัย บทความ และการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้ครบหมดทุกคนก่อนค่ะ

1.บทความ เรื่อง...เทคนิคสอนลูกเก่งเลขง่ายนิดเดียว
2.บทความ เรื่อง...เมื่อลูกน้อยเรียนรู้ คณิต-วิทย์ จากเสียงดนนตรี
3.วิจัย เรื่อง...ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา เศษส่วน
4.วิจัย เรื่อง...ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.วิจัย เรื่อง...การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
6.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง...คณิตศาสตร์รอบตัวเด็ก






    
           การนำเสนอวิดีโอที่นำสื่อไปเล่นกับเด็ก ส่วนมากเด็กสามารถเล่นสื่อคณิตศาสตร์ของเพื่อนๆได้ แต่ปัญหาจะเป็นการแย่งกันของเด็ก เด็กเยอะเกินไปอันนี้จะขึ้นอยยู่กับการจัดเด็กในการมมาเล่นสื่อหรือกติกาในการเล่นค่ะ





ประเมินตนเอง

มีงานมาส่งอาจารย์ครบทุกชิ้นค่ะ แต่ไม่ได้นำเสนอวิดีโอเพราะวิดีโออยู่ในคอมไม่สามารถเสียบใส่ในคอมของอาจารย์ได้ค่ะ อาจารย์จึงให้นำวิดีโอมาลงในบล็อกไว้แล้วอาจารย์จะมาดูเองค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และได้นำงานมาส่งอาจารย์ครบทุกชิ้น ช่วยกันแก้ปัญหา



ประเมินอาจารย์

อาจารย์สรุปการทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้ฟัง และบอกวิธีการที่จะนำสื่อไปให้เด็กเล่นว่าเราควรมีกฏกติกาให้เขา และบอกวิิธีการสรุปและประเมินเด็กค่ะ





วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 25 เมษายน 2561


ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ให้ส่งงานหลังจากอาจารย์ให้นำสื่อเกมการศึกษาไปลองเล่นกับเด็กอนุบาลมาเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ให้ นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจากสัสดุเหลือใช้ (ถาดไข่)








สื่อชิ้นนี้เป็นสื่อเกมการศึกษาของคู่ดิฉันค่ะ ชื่อเกม การจัดหมวดหมู่รูปทรงเรขาคณิต


วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เด็กเข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต
- เพื่อให้เด็กรููจัก และจำแนกรูปทรงเรขาคณิต

วิธีการเล่น
1.มีการจัดวางรูปแบบรูปทรงเรขาคณิตในแต่ละแถวไว้ให้เด็กเป็นตัวอย่าง
2.ให้เด็กหยิบฝาขวดน้ำขึ้นมา สังเกตรูปทรงและจัดวางให้ตรงกับรูปแบบที่กำหนดไว้ในแต่ละแถว
3.เมื่อเด็กจัดวางฝาขวดน้ำครบทุกแถวแล้ว ให้นำแผ่นตรวจสอบความถูกต้องมาตรวจคำตอบ

แผ่นตรวจคำตอบ


  


ประโยชน์ที่ได้รับ
- เด็กสามารถเข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต
- เด็กสามารถรู้จักและจำแนกรูปทรงของเรขาคณิตได้

นำสื่อเกมการศึกษาไปให้เด็กเล่น 

(เด็กอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)
          เด็กๆสามารถหยิบฝาขวดน้ำมาวางตรงตามสีที่กำหนดไว้ได้ แต่บางคนยังแยกไม่ค่อยออกระหว่างสีส้มกับสีเหลืองจึงสอนให้เด็กดูตรงรูปทรง ว่าถ้ารูปทรงเหมือนกันก็สามารถนำมาวางด้วยกันได้ค่ะ







การวัดและประเมินผล
1.สังเกต
- ถ่ายวิดีโอ
- แบบบันทึก
2.สนทนาพูดคุย
- แบบบันทึก
-เทปเสียง
3.ชิ้นงาน ผลงาน
4.การสัมภาษณ์


ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตรงเวลา นำสื่อเกมการศึกษามาส่งอาจารย์ในวันที่กำหนด ตั้งใจฟังอาจารย์ พยายามช่วยเพื่อนตอบคำถามอาจารย์ในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และนำเกมการศึกษามาส่งอาจารย์ทุกคู่ เพื่อนทุกคนได้นำเกมการศึกษาไปให้เด็กอนุบาลเล่นทุกคน และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ในห้องเรียนค่ะ


ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้แนะนำการจัดวางสื่อเกมการศึกษาในการนำเสนอวันนี้ ว่าต้องนำสื่อทุกชิ้นที่มีออกมาวางเรียงให้หมด พยายามโชว์สื่อที่ตัวเองมี และได้มีการพูดถึงสื่อเกมการศึกษาของทุกคู่ ว่าดีหรือควรปรับปรุงตรงไหนบ้างก่อนส่งค่ะ













วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 20 เมษายน 2561


ความรู้ที่ได้รับ

             อาจารย์ให้ออกมานำเสนอเกมการศึกษาของแต่ละคู่ โดยแต่ละเกมการศึกษาต้องมีกล่องสำหรับเก็บเมื่อเล่นเสร็จ ในกล่องต้องมีวิธีการ มีประโยชน์ และมีเฉลยไว้ให้เด็กตรวจสอบความถูกต้อง และต้องมีโจทย์ไว้สำหรับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อ

การนำเสนองานหน้าชั้นเรียนของเพื่อน
1.นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส
บทความ เรื่อง...นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์ 
ขั้นตอนการแต่งนิทาน
- ตั้งวัตถุประสงค์
- กำหนดตัวละคร
- กำหนดสถานที่
- การดำเนินเรื่อง

2.นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา
บทความ เรื่อง...ดีจริงหรือที่เร่งอ่าน เขียน คณิตศาสตร์ในเด็กอนุบาล 
          การที่เราไปเร่งให้เด็กอนุบาลนั้น อ่านเขียนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะเด็กอนุบาลต้องสอนไปตามพัฒนาการของเด็ก และต้องเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเด็กก่อน

3.นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา
บทความ เรื่อง...พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6 ปี
4.นางสาวปิยธิดา ประเสริฐแสง
การจัดประสบการณ์เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะการเปรียบเทียบ
5.นางสาวอินทิรา หมึกสี
วิจัย เรื่อง...การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวถูกระเบียบ และได้นำงานเกมการศึกษาออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นคู่แรก อาจารย์ให้ไปทำกล่องเพิ่มเพื่อใส่อุปกรณ์การเล่นให้เป็นระเบียบ และให้ทำเฉลยเพื่อให้เด็กได้ตรวจสอบความถูกต้องค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมีงานเกมการศึกษาออกมานำเสนอครบทุกคู่และทำเกือบเสร็จสมบูรณ์ทุกคู่แล้ว แต่อาจารย์ไม่สนับสนุนให้ซื้ออุปกรณ์มาทำ จะเน้นให้เอาของเหลือใช้มาทำมากกว่าค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยแนะนำในส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข และปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นให้บางเกมการศึกษา และเน้นย้ำให้ไปอ่านกรอบมาตรฐานคณฺตศาสตร์ปฐมวัยมาให้ดีค่ะ














                   

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 11

วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2561



ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ขอดูความคืบหน้าเกี่ยวกับสื่อที่ให้ไปทำ เพื่อดูความถูกต้องและนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง สื่อที่ทำต้องมีความหลากหลายและสามารถเล่นได้หลายๆเกม ไม่ใช่เล่นเกมเดียวแล้วทิ้ง เล่นแล้วต้องมีกล่องหรืออุปกรณ์ไว้สำหรับเก็บสื่อของเล่น เพราะถ้าไม่มีที่เก็บสื่อจะกลายเป็นขยะทันที และสื่อชิ้นนั้นจะดูไม่น่าสนใจและไม่น่าเล่น


          และนี่คือความคืบหน้าของคู่ดิฉันค่ะ อาจารย์ให้ไปแก้ไขให้สามารถเล่นได้หลากหลาย
ไม่ควรกำหนดสีไว้ให้เด็กเพราะจะเป็นเหมือนการตีกรอบให้เด็ก และจะเล่นได้แค่เกมเดียว และนักศึกษาสามารถคิดอะไรที่นอกกรอบเพิ่มเติมไปจากที่อาจารย์แนะนำได้



ประเมินตนเอง

วันนี้ดิฉันเข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย นำสื่อเกมการศึกษามาส่งอาจารย์และนำไปปรับปรุงแก้ไข ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำ และได้ออกไปนำเสนอวิจัยเพิ่มเติมต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ และสื่อการสอนของมอนเตสซอรี่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น 
ไม้จำนวน กล่องกระสวย เลขบัตรและเบี้ย การนับข้าม และการนับเลขฐานสิบ เป็นต้น

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และทำสื่อเกมการศึกษามาส่งอาจารย์ทุกคน และรับฟังคำแนะนำจากอาจารย์ไปปรับแก้ค่ะ



ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำสื่อเกมการศึกษา เพื่อที่จะให้สื่อนั้นใช้ได้จริงและสมบูรณ์แบบและคุ้มค่า สอนการใช้วัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ค่ะ และย้ำว่าให้ไปอ่านกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย



วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันพฤหัส ที่ 29 มีนาคม 2561





วันนี้ตอนเช้าได้มาร่วมทำบุญตักบาตรกับอาจารย์ที่ใต้ตึก 28 ก่อนเข้าเรียน

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้มีการนำเสนอ วิจัย และการจัดประสบการ์ทางคณิตศาสตร์
1.นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
นำเสนอวิจัย เรื่อง..การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
2.นางสาวประภัสสร แทนด้วง
นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง..คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
3.นางสาวสุดารตน์ อาสนามิ 
นำเสนอวิจัย เรื่อง..ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่





             อาจารย์แจกแผงไข่เหลือใช้ และให้จับคู่แล้วคิดสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากแผงไข่เหลือใช้มา คู่ละ 1 อย่าง และให้มานำเสนออาจารย์ ถ้ารูปแบบของสื่อผ่านแล้วให้ไปทำมาส่งความคืบหน้าอาทิตย์ถัดไป








ประเมินตนเอง

ตื่นเช้ามาร่วมทำบุญตักบาตรตามที่อาจารย์บอกค่ะ ช่วยอาจารย์ถือของขึ้นไปบนห้องเรียน เตรียมงานวิจัยออกไปนำเสนอ ดิฉันนำเสนองานวิจัยเรื่อง..ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ แต่อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเด่นของมอนเตสซอรี่ และการเล่นกิจกรรมของมอนเตสซอรี่ แล้วมานำเสนอเพิ่มเตินในอาทิตย์ถัดไปค่ะ




ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมาเข้าร่วมทำบุญตักบาตรตอนเช้า และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน แต่วันนี้เพื่อนขาดเรียนกันเยอะค่ะ 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เชิญชวนนักศึกษามาทำบุญตักบาตรในตอนเช้าค่ะ และวันนี้เนื่องจากเพื่อนๆมาเรียนน้อย อาจารย์จึงให้นำเสนองาน และสั่งงานนั่นคือให้ไปจับคู่ทำสื่อ และมีการเสนอแนะในการคิดสื่อการสอนให้เหมาะสมกับเด็กด้วยค่ะ

















การเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม 2561


ความรู้ที่ได้รับ

มีการนำเสนอ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และบทความ

1.นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร นำเสนอบทความ 
เรื่อง..เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม
2.นางสาววัชรา ค้าสุกร นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล
3.นางสาวกฤษณา กบขุนทด นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การสอนนับเลข 1-10
4.นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน นำเสนอ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน







                                                       


            อาจารย์แจกกระดาษและให้ตีตาราง เสร็จแล้วระบายสีให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆในตารางให้ได้เยอะที่สุด โดยไม่ให้รูปทรงซ้ำกัน ฝึกทักษะการคิดเกี่ยวกับรูปทรงทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก




          เรื่อง สมมาตร คือการพับกระดาษและตัดตามรูปที่วาด พอคลี่กระดาษออกมาก็จะเกิดเป็นรูปที่เราตัดและอีกส่วนหนึ่งก็จะมีขนาดและรูปร่างเท่ากัน ซึ่งก็เรียกว่า สมมาตรกัน สามารถนำไปจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ โดยให้เด็กจับคู่กระดาษต้นแบบ กับรูปที่ถูกตัดออกมาให้สมมาตรกันนั่นเองค่ะ



          สุดท้ายเป็น การนับ การจัดหมวดหมู่ และเปรียบเทียบ การนับหมวก สีแดงและสีน้ำเงิน โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ และการเรียงสิ่งของต้องเรียงจากซ้ายมือไปขวามือเสมอ การที่จะเปรียบเทียบว่าสีไหนมีมากกว่ากันนั้นต้องใช้วิธีการจับคู่ หนึ่งต่อหนึ่ง สรุปคือ สีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่าสีแดงมีมากกว่าสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ




ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ให้ความสนใจเพื่อนในการนำเสนองาน และพยายามมีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา มาทันอาจารย์เช็คชื่อ และเตรียมงานมานำเสนอได้ดี ให้ความสนใจในการทำกิจกรรม และช่วยกันคิดตอบคำถามอาจารย์ ตั้งใจทำงานในห้องที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้มีการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนกิจกรรมเด็กว่า ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในกิจกรรมมากขึ้น และอาจารย์ก็มีกิจกรรมในห้องให้นักศึกษาได้ช่วยกันคิดและลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นค่ะ







วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 16 มีนาคม 2561



ความรู้ที่ได้รับ

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 

- จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
- จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
- ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
- ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
- สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย  ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  หรือ  น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
- การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
- การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ  จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน  แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง  ที่สอง  ที่สาม  ที่สี่  ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
- การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ได้ผลรวมมากขึ้น
- การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่  แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 การวัด

- การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน  
- การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
- การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
- การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
- การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
- การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร
ของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
- เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
- ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
- ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
- เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  
พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์

สาระที่ 3 เรขาคณิต

- ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทางของสิ่งต่างๆ
- การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป

สาระที่ 4  พีชคณิต

- แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

- การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
- แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

          อาจารย์ให้คิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระทั้ง 6 สาระและครอบคลุมทุกด้าน
ทางคณิตศาสตร์ สามารถเรียนรู้ได้หลายวิธี พร้อมอธิบายวิธีการเล่นของกิจกรรมนั้นๆ 

ผลงานที่เรียนในวันนี้