เรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี
บทที่ 1 บทนำ
ภูมิหลัง
คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม
เด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ที่ใดสถานการณ์ใดการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลหรือการประกอบกิจกรรมประจำวัน คณิตศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้นจึงกล่าวได้ว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และจำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่เสมอซึ่งการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับอื่นๆ เนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากเด็กในวัยอื่น ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดซึ่งพ่อแม่และครูควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี
1.1 ความเป็นมาของการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ และประวัติของ มาเรีย มอนเตสซอรี่1.2 ความหมายของการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.3 ทฤษฎีและแนวคิดของมอนเตสซอรี่
1.4 การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.5 สรุปหลักการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.6.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
1.6.2 งานวิจัยในประเทศ
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.1 ความหมายของคณิตศาสตร์
2.2 ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.3 ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสตร์
2.4 ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.5 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
2.6 ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
2.7 หลักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
2.8 หลักการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.9.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
2.9.2 งานวิจัยในประเทศ
มอนเตสซอรี่เน้นความสำคัญของ “การศึกษาโดยใช้ประสาทสัมผัส” (Sensory Education)
โดยสร้างสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เน้นการ ฝึกประสาทสัมผัสทั้งสิ้น แนวความคิดนี้สอดคล้องกับความคิด
ของเพียเจต์ ซึ่งเน้นว่าการให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะเป็นพื้นฐานเพื่อวัดผลของ
พัฒนาการทางสติปญญา
สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นการสอนแบบการสาธิตเป็น
รายบุคคล หรือถ้าเป็นกลุ่มก็จะเป็นกลุ่มย่อยๆ ครูเป็นเพียงผู้สอนให้เด็กได้ปฏิบัติงานทุกอย่างด้วย
ตนเอง ซึ่งเด็กจะตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ด้วยตนเอง ทำงานตามความพอใจและตามจังหวะช้าเร็วของ
ตนเอง ดังประโยคของมอนเตสซอรี่ที่ว่า “สอนให้ได้ทำเอง”
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งศึกษาอยู่ใน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง จากห้องที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ห้องมอนเตสซอรี่ 1
และเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1.แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าผู้วิจัยได้เสนอการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ
จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
สมมุติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
สรุปผลการวิจัย
1.ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การ
เรียงลำดับและการนับ
2.ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
ตามแนวมอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น