วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันพุธ ที่ 24 มกราคม 2561


ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์ติดประชุม แต่อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำกันในห้อง อาจารย์ให้คิดสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาคนละ 1 อย่าง พร้อมกับวาดรูประบายสี และบอกวิธีทำสื่อและวิธีการเล่นโดยละเอียด เสร็จแล้วให้ถ่ายรูปผลงานตัวเองส่งเข้าไปในไลน์กลุ่มให้อาจารย์ดู ดิฉันคิดสื่อบล็อกไม้ บวก ลบ
* เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 3




วิธีทำสื่อ
1.นำบล็อกไม้มาตามจำนวนที่ต้องการ
2.นำตัวเลข 0-9 มาติดใส่บล็อกไม้ หรือจะเป็นจำนวนผลไม้หรือตัวการ์ตูนก็ได้
3.เคลือบบล็อกด้วยแผ่นใสเพื่อไม่ให้ชำรุดง่าย และป้องกันอันตรายจากเหลี่ยมของบล็อกไม้ด้วย

วิธีการเล่น
เตรียมบล็อกไม้ที่มีตัวเลข 0-9 มาพร้อมกับเครื่องหมายบวก ลบ และเครื่องหมายเท่ากับมาให้เด็กๆ โดยการเล่นจะเล่นทีละ 2 คน คือให้เด็กเลือกบล็อกไม้มาคนละ 1 อัน และครูจะเป็นคนเลือกเครื่องหมายมาใส่ให้เด็ก และให้เด็กช่วยกันบวกหรือลบเลข แล้วหยิบตัวเลขที่เป็นคำตอบมาวางต่อกัน

ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนเร็ว มานั่งรออาจารย์ในห้องเรียน ตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์ได้สั่งไว้ เสร็จแล้วก็ส่งงานไว้ที่โต๊ะเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเข้าห้องเรียนตรงเวลา และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์สั่ง มีคุยเล่นกันเสียงดังบ้างแต่ก็ส่งงานเร็ว และอยู่ในระเบียบของห้องเรียน

ประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์ติดประชุมไม่ได้เข้าสอน แต่ก็สั่งงานไว้บนโต๊ะ และยังคอยทักไลน์กลุ่มมาถามและเช็คจำนวนนักศึกษาอยู่ค่ะ

                                         

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 2

วันศุกร์ ที่ 19 มกราคม 2561

ความรู้ที่ได้รับ

            อาจารย์สอนการเขียนมายแมบ เรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแยกออกเป็น 3 หัวข้อ

1.การจัดประสบการณ์
1.1 แนวคิดนักการศึกษา
1.2 หลักการการจัดประสบการณ์
1.3 รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.4 การออกแบบหน่วยการเรียน
1.5 ทักษะคณิตศาสตร์ที่เด็กควรเรียนรู้
1.6 สาระหน่วยที่เด็กควรรู้
1.7 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.8 สื่อ อุปกรณ์ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.9 การประเมินผล
1.10 การจัดสภาพแวดล้อม
1.11 บทบาทผู้ปกครอง

2.คณิตศาสจร์
2.1 ความหมาย
2.2 ความสำคัญ
2.3 สาระการเรียนรู้
2.3.1 การนับ - จำนวน
2.3.2 ปริมาณ - ปริมาตร
2.3.3 การวัด
2.3.4 การเปรียบเทียบ - เรียงลำดับ

3.เด็กปฐมวัย
3.1 พัฒนาการทางสติปัญญา
3.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
3.3 พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
3.3.1 ร่างกาย
3.3.2 อารมณ์ จิตใจ
3.3.3 สังคม
3.3.4 สติปัญญา








เรื่องที่สอง อาจารย์ให้ออกแบบชื่อเล่นตัวเองเขียนเป็นตัวติดกัน แล้วให้นำไปแปะบนหน้ากระดานตามเวลาที่ตัวเองตื่นนอน ซึ่งกิจกรรมนี้จะช่วยสอนเด็กในเรื่องการนับเลข การลบเลข และจำนวนมากกว่า น้อยกว่า



ประเมินตนเอง

แต่งตัวไปเรียนเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและอธิบายงานที่สั่ง อาจารย์ชมว่าทำงานค่อนข้างดี แต่ส่งงานช้าเพราะมัวแต่คุยกับเพื่อนอยู่ค่ะ ครั้งหน้าจะปรับปรุงตัวให้ดีกว่านี้ค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนแต่งตัวไปเรียนเรียบร้อยทุกคนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นชุดนักศึกษาหรือว่าชุดพละ และมีบางส่วนที่เข้าเรียนสายมาไม่ทันอาจารย์เช็คชื่อ เวลาอาจารย์อธิบายเนื้อหาการเรียนเพื่อนคุยกันเสียงดัง แล้วจะมาถามอาจารย์ทีหลัง แต่เพื่อนก็มีงานส่งอาจารย์ค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนสนุกขึ้นค่ะจากการเรียนเทอมที่แล้ว ไม่ค่อยมีความกดดัน และเปิดกว้างให้นักศึกษาได้ถามจนกว่าจะเข้าใจ ชอบที่เวลาอาจารย์สั่งงานแล้วจะเดินดูงานของนักศึกษาขณะกำลังทำอยู่เพราะจะได้เห็นงานที่นักศึกษาทำว่าถูกหรือผิดจะได้แก้ไขทันค่ะ อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงในเนื้อหาการเรียน ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น







วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 1

วันศุกร์ ที่ 12 มกราคม 2561



ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้เป็นวันแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องห้องเรียนและเวลาเรียน การแต่งกายมาเรียนใส่ชุดพละได้ ถ้าเสื้อเอกได้แล้วก็ให้ใส่เสื้อเอกกับกางเกงพละได้ค่ะ และแจ้งวันเวลาเรียนที่ชัดเจน คือเรียนวันพุธเวลา 12:30 น. 
และตรวจงานบล็อกทุกวันอาทิตย์ก่อนเที่ยง
           
อาจารย์ได้สั่งงานทำบล็อก 3 งานคือ
-หาวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-หาบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-หาตัวอย่างการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นำทั้ง 3 งานมาลิงค์ใส่บล็อกพร้อมกับอ่านและสรุปลงบล็อก
    

ประเมินตนเอง     

วันนี้ดิฉันแต่งตัวไม่เรียบร้อยค่ะ ลืมใส่เข็มขัดมา เเต่ก็พร้อมในการเรียนเตรียมสมุดมาจดงานที่อาจารย์สั่ง ตั้งใจฟังอาจารย์ 


ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆก็แต่งตัวไม่เรียบร้อยค่ะ บางคนไม่มีเข็มขัด บางคนใส่รองเท้าแตะมา แต่เพื่อนก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนค่ะ งานไหนที่อาจารย์สั่งแล้วไม่เข้าใจก็จะถามค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบายงานชัดเจนขึ้น มีการทวนคำสั่งงานที่ได้สั่งกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันกันครบทุกคน และวันนี้อาจารย์ปล่อยเร็วมากค่ะ



สรุปตัวอย่างการสอน

เรื่อง...สื่อการสอนคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร

เป็นการสอนบวก ลบ คูณ และหารผ่านตัวละคร 1 ตัว ว่ากิจกรรมในแต่ละวันเขาได้ทำอะไรบ้างเพื่อให้เด็กๆเกิดความสนใจ

เริ่มจากการบวก วันนี้ญาญ่าได้เงินไปโรงเรียนจากแม่ 10 บาท และพ่อให้เพิ่มอีก 10 บาท เราก็จะถามเด็กว่าสรุปวันนี้ญาญ่าได้เงินไปโรงเรียนกี่บาท จะสอนการบวกโดยเริ่มนับจากเงินที่แม่ให้ 10 บาท บวกของพ่อเพิ่มอีก 10 บาทก็จะเป็น 11 12 13... ไปเรื่อยๆจนครบเงินที่พ่อให้และเด็กก็จะได้คำตอบ

การลบ ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่ญาญ่าต้องซื้อของนั่นก็คือลบออกไป ญาญ่ามีเงิน 20 บาทแล้ว
ซื้อของไป 10 บาท ญาญ่าต้องลบเงินของพ่อออกไป 10 บาท โดยให้เด็กตั้งโจทย์ 20-10 เราก็จะถามเด็กว่า 0-0 เหลือกี่บาท 2-1 เหลือกี่บาท จากนั้นเด็กก็จะได้คำตอบ

การคูณ เป็นการซื้อผลไม้ 3 ลูก ราคา 2 บาท ญาญ่าต้องการซื้อไปฝากเพื่อนอีกสองคน คนละ 3 ลูกเท่าๆกัน เราก็จะถามเด็กๆว่าญาญ่าต้องซื้อผลไม้ทั้งหมดกี่ลูก โดยบอกเด็กๆว่าถ้าเลขตัวเดียวกันบวกกันมากกว่า 2 ครั้งก็คือการคูณนั่นเอง

การหาร ญาญ่าซื้อผลไม้มา 9 ลูกแต่แม่ค้าแถมให้อีก 1 ลูกเป็น 10 ลูก หาร 3 คนจะได้คนละเท่าไหร การหารก็คือการแบ่งออกให้เท่าๆกัน ญาญ่าต้องแบ่งผลไม้ให้เพื่อนๆทีละลูกจนครบทุกคนจนผลไม้หมด สรุปญาญ่าได้ผลไม้ 3 ลูก เพื่อนอีกสองคนก็ได้คนละ 3 ลูกเหลือผลไม้อีก 1 ลูก และคำตอบของเด็กๆก็คือ 3 เศษ 1 นั่นเอง

แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=kOBho-SklKA&feature=youtu.be


สรุปบทความ

เรื่อง...สอนคณิตศาสตร์ผ่านศิลปะ

  พูดถึงคณิตศาสตร์ เราจะนึกถึงสิ่งที่อยู่กันข้ามกัน เป็นผลของการทำงานของสมองคนละซีก (คณิตศาสตร์ - สมองซีกซ้าย ศิลปะ - สมองซีกขวา)
      
      งานศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวาด งานปั้น งานสาน งานเย็บปักถักร้อย ล้วนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับการเรียนคณิตศาสตร์ได้ทั้งสิ้น แต่ต้องทำด้วยความสนุกสนาน ไม่กดดันเด็ก ค่อยๆสอน ค่อยๆดู จะส่งผลดีต่อเด็กมากกว่า
        
     การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านศิลปะเกิดได้ตลอดเวลา เช่น การวาดภาพสิ่งต่างๆขึ้นมาในภาพอาจจะมีต้นไม้ 2 ต้น ดอกไม้ 1 ดอก คน 3 คน เด็กก็จะได้เรียนรู้ค่าของตัวเลขและจำนวนการนับ 1 2 3... ตามจำนวนสิ่งของที่อยู่ในภาพ 

  คณิตศาสตร์ไม่ได้มีเฉพาะตัวเลข แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องรูปทรงที่แตกต่าง เช่น เล็ก ใหญ่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทรงกลม เด็กก็จะได้เรียนรู้รูปทรงผ่านภาพวาดได้

  งานปั้นช่วยให้เด็กเรียนรู้มิติสัมพันธ์ได้ดีกว่าภาพวาด เพราะงานปั้นจะมีทั้งความกว้าง ความยาว และมีความลึกหรือความหนา เด็กจะทำงานปั้นได้ดีเมื่อมีอายุ 5-6 ขวบ เพราะความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์จะค่อยๆพัฒนาตามอายุ

        ปัจจุบันงานศิลปะอย่างการร้อยลูกปัดได้ถูกนำไปใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เพราะการร้อยลูกปัดจะทำให้เด็กๆได้มีการพัฒนาและเรียนรู้

แหล่งที่มา : www.fammilyweekend.co.th/articles/533172/เรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
ขอบคุณเว็บไซต์ศูนย์อาเซียนศึกษา


สรุปวิจัย

เรื่อง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี

บทที่ 1 บทนำ 
ภูมิหลัง 
          
          คณิตศาสตร์มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็ตาม 
เด็กหรือผู้ใหญ่อยู่ที่ใดสถานการณ์ใดการติดต่อสื่อสารด้วยข้อมูลหรือการประกอบกิจกรรมประจำวัน คณิตศาสตร์จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้นจึงกล่าวได้ว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และจำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์อยู่เสมอซึ่งการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับอื่นๆ เนื่องจากพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างจากเด็กในวัยอื่น ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดซึ่งพ่อแม่และครูควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย
               
บทที่ 2 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


1.เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี
1.1 ความเป็นมาของการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ และประวัติของ มาเรีย มอนเตสซอรี่
1.2 ความหมายของการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.3 ทฤษฎีและแนวคิดของมอนเตสซอรี่
1.4 การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.5 สรุปหลักการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
   1.6.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
   1.6.2 งานวิจัยในประเทศ

2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.1 ความหมายของคณิตศาสตร์
2.2 ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.3 ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสตร์
2.4 ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.5 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
2.6 ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
2.7 หลักการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
2.8 หลักการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
   2.9.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
   2.9.2 งานวิจัยในประเทศ

           มอนเตสซอรี่เน้นความสำคัญของ “การศึกษาโดยใช้ประสาทสัมผัส” (Sensory Education)
โดยสร้างสื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เน้นการ ฝึกประสาทสัมผัสทั้งสิ้น แนวความคิดนี้สอดคล้องกับความคิด
ของเพียเจต์ ซึ่งเน้นว่าการให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะเป็นพื้นฐานเพื่อวัดผลของ
พัฒนาการทางสติปญญา

           สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นการสอนแบบการสาธิตเป็น
รายบุคคล หรือถ้าเป็นกลุ่มก็จะเป็นกลุ่มย่อยๆ ครูเป็นเพียงผู้สอนให้เด็กได้ปฏิบัติงานทุกอย่างด้วย
ตนเอง ซึ่งเด็กจะตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ด้วยตนเอง ทำงานตามความพอใจและตามจังหวะช้าเร็วของ
ตนเอง ดังประโยคของมอนเตสซอรี่ที่ว่า “สอนให้ได้ทำเอง”

บทที่ 3 
วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการการวิจัย 
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งศึกษาอยู่ใน
ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง จากห้องที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ห้องมอนเตสซอรี่ 1
และเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1.แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
       การศึกษาค้นคว้าผู้วิจัยได้เสนอการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
2.การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

         การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
1.เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามแนวมอนเตสซอรี่ 
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ
จัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ 
สมมุติฐานในการวิจัย 
         เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

สรุปผลการวิจัย 
1.ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การ
เรียงลำดับและการนับ 
2.ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
ตามแนวมอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ