วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันพฤหัส ที่ 29 มีนาคม 2561





วันนี้ตอนเช้าได้มาร่วมทำบุญตักบาตรกับอาจารย์ที่ใต้ตึก 28 ก่อนเข้าเรียน

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้มีการนำเสนอ วิจัย และการจัดประสบการ์ทางคณิตศาสตร์
1.นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
นำเสนอวิจัย เรื่อง..การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
2.นางสาวประภัสสร แทนด้วง
นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง..คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
3.นางสาวสุดารตน์ อาสนามิ 
นำเสนอวิจัย เรื่อง..ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่





             อาจารย์แจกแผงไข่เหลือใช้ และให้จับคู่แล้วคิดสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากแผงไข่เหลือใช้มา คู่ละ 1 อย่าง และให้มานำเสนออาจารย์ ถ้ารูปแบบของสื่อผ่านแล้วให้ไปทำมาส่งความคืบหน้าอาทิตย์ถัดไป








ประเมินตนเอง

ตื่นเช้ามาร่วมทำบุญตักบาตรตามที่อาจารย์บอกค่ะ ช่วยอาจารย์ถือของขึ้นไปบนห้องเรียน เตรียมงานวิจัยออกไปนำเสนอ ดิฉันนำเสนองานวิจัยเรื่อง..ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ แต่อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดเด่นของมอนเตสซอรี่ และการเล่นกิจกรรมของมอนเตสซอรี่ แล้วมานำเสนอเพิ่มเตินในอาทิตย์ถัดไปค่ะ




ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมาเข้าร่วมทำบุญตักบาตรตอนเช้า และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน แต่วันนี้เพื่อนขาดเรียนกันเยอะค่ะ 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เชิญชวนนักศึกษามาทำบุญตักบาตรในตอนเช้าค่ะ และวันนี้เนื่องจากเพื่อนๆมาเรียนน้อย อาจารย์จึงให้นำเสนองาน และสั่งงานนั่นคือให้ไปจับคู่ทำสื่อ และมีการเสนอแนะในการคิดสื่อการสอนให้เหมาะสมกับเด็กด้วยค่ะ

















การเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม 2561


ความรู้ที่ได้รับ

มีการนำเสนอ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และบทความ

1.นางสาวสุชัญญา บุญญะบุตร นำเสนอบทความ 
เรื่อง..เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม
2.นางสาววัชรา ค้าสุกร นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล
3.นางสาวกฤษณา กบขุนทด นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การสอนนับเลข 1-10
4.นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน นำเสนอ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
เรื่อง..การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน







                                                       


            อาจารย์แจกกระดาษและให้ตีตาราง เสร็จแล้วระบายสีให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆในตารางให้ได้เยอะที่สุด โดยไม่ให้รูปทรงซ้ำกัน ฝึกทักษะการคิดเกี่ยวกับรูปทรงทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก




          เรื่อง สมมาตร คือการพับกระดาษและตัดตามรูปที่วาด พอคลี่กระดาษออกมาก็จะเกิดเป็นรูปที่เราตัดและอีกส่วนหนึ่งก็จะมีขนาดและรูปร่างเท่ากัน ซึ่งก็เรียกว่า สมมาตรกัน สามารถนำไปจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ โดยให้เด็กจับคู่กระดาษต้นแบบ กับรูปที่ถูกตัดออกมาให้สมมาตรกันนั่นเองค่ะ



          สุดท้ายเป็น การนับ การจัดหมวดหมู่ และเปรียบเทียบ การนับหมวก สีแดงและสีน้ำเงิน โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ และการเรียงสิ่งของต้องเรียงจากซ้ายมือไปขวามือเสมอ การที่จะเปรียบเทียบว่าสีไหนมีมากกว่ากันนั้นต้องใช้วิธีการจับคู่ หนึ่งต่อหนึ่ง สรุปคือ สีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่าสีแดงมีมากกว่าสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ




ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ ให้ความสนใจเพื่อนในการนำเสนองาน และพยายามมีส่วนร่วมในการตอบคำถามอาจารย์ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา มาทันอาจารย์เช็คชื่อ และเตรียมงานมานำเสนอได้ดี ให้ความสนใจในการทำกิจกรรม และช่วยกันคิดตอบคำถามอาจารย์ ตั้งใจทำงานในห้องที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้มีการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนกิจกรรมเด็กว่า ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในกิจกรรมมากขึ้น และอาจารย์ก็มีกิจกรรมในห้องให้นักศึกษาได้ช่วยกันคิดและลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นค่ะ







วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 16 มีนาคม 2561



ความรู้ที่ได้รับ

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 

- จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
- จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
- ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
- ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
- สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย  ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  หรือ  น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
- การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
- การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ  จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน  แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง  ที่สอง  ที่สาม  ที่สี่  ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
- การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ได้ผลรวมมากขึ้น
- การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่  แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 การวัด

- การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน  
- การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
- การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
- การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
- การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
- การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร
ของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
- เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
- ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
- ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
- เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  
พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์

สาระที่ 3 เรขาคณิต

- ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทางของสิ่งต่างๆ
- การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป

สาระที่ 4  พีชคณิต

- แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

- การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
- แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

          อาจารย์ให้คิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระทั้ง 6 สาระและครอบคลุมทุกด้าน
ทางคณิตศาสตร์ สามารถเรียนรู้ได้หลายวิธี พร้อมอธิบายวิธีการเล่นของกิจกรรมนั้นๆ 

ผลงานที่เรียนในวันนี้










วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้มีการนำเสนอ ตัวอย่างการสอน บทความ และวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

คนที่หนึ่ง : นางสาววัชรา ค้าสุกร 
- นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง...การสอนคณิตคิดสนุก




คนที่สอง : นางสาวเพ็ญประภา บุญมา
- นำเสนอบทความ เรื่อง...เสริมการเรียนเลขให้กับลูก
          การส่งเสริมคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัยควรเริ่มจากพ่อกับแม่และคนใกล้ชิด เพราะเด็กจะเกิดการเลียนแบบและเรียนรู้สิ่งต่างๆจากคนที่เลี้ยงดูและคนใกล้ชิด



คนที่สาม : นายปฏิภาณ จินดาดวง
- นำเสนอวิจัย เรื่อง...ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
          เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นและง่ายขึ้นอีกด้วย รวมถึงทักษะการเปรียบเทียบจำนวน การคำนวณ การเรียงลำดับ    



สาระการเรียนรู้แยกออกเป็น 2 ส่วน
1.ประสบการณ์สำคัญ
- ร่างกาย
- อารมณ์-จิตใจ
- สังคม
- สติปัญญา

2.สาระที่ควรเรียนรู้
- เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
- ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

ประเมินตนเอง

พยายามมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน คือการตอบคำถามของอาจารย์ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน แต่งตัวเรียบร้อยค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมีความพร้อมในการเรียน เตรียมตัวในการนำเสนองาน และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์อย่างกระตือรือร้นค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้มีการพูดและสรุปงานที่เพื่อนออกมานำเสนอให้นักศึกษาอีกรอบ และพยายามตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้ิดและตอบค่ะ